แชร์

สิทธิของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง

816 ผู้เข้าชม
สิทธิของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง

ลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างจะมีสิทธิดังต่อไปนี้

เงินชดเชย

ค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 หมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่น ซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง โดยพิจารณาอัตราค่าชดเชยตามอายุงานของลูกจ้าง โดยลูกจ้างจะมีสิทธืได้รับเงินชดเชยต่อเมื่อทำงานครบ 120 วันเป็นอย่างน้อย และลูกจ้างจะไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้

1. ลูกจ้างลาออกเอง
2. ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง เช่น โกงเงิน ยักยอกเงิน ฯลฯ
3. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
4. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
5. ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
6. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
7. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
8. กรณีการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และนายจ้างเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น ได้แก่ การจ้างงานในโครงการ งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว และงานที่เป็นไปตามฤดูกาล
 
สำหรับอัตราค่าชดเชย ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหากนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดในอัตราดังต่อไปนี้ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 30 วัน

ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 90 วัน
- ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน
- ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
- ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 300 วัน
- ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 400 วัน

นอกจากเงินชดเชยแล้วลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับค่าตกใจซึ่งก็คือการที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยกะทันหันคือนายจ้างไม่บอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างจะต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าหรือ ค่าตกใจ ดังนี้

เลิกจ้างทั่วไป นายจ้างต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 งวดของการจ่ายค่าจ้าง เช่น ถ้าได้ค่าจ้างทุก 30 วัน นายจ้างต้องแจ้งเลิกจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 30 วัน ไม่เช่นนั้นจะต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน

เลิกจ้างเพื่อปรับปรุงหน่วยงาน ลดจำนวนลูกจ้างลง นายจ้างต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 60 วัน หากลูกจ้างไม่ได้รับแจ้งจะได้เงินชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน

เลิกจ้างเพราะย้ายสถานประกอบกิจการ ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน หากลูกจ้างไม่ได้รับแจ้งจะได้รับเงินชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน นอกจากนี้ในกรณีที่มีการบอกล่วงหน้า แต่ลูกจ้างไม่ต้องการย้ายไปทำงานที่ใหม่ ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่า 50% ของค่าชดเชยถูกเลิกจ้างที่มีสิทธิได้รับ

ระยะเวลาการจ่ายเงินชดเชย

นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างภายในวันสุดท้ายที่ทำงาน หากลูกจ้างไม่ได้รับสามารถร้องเรียนที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ เพราะถือว่าถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม

เงินทดแทนกรณีว่างงาน

หากลูกจ้างมีสิทธิประกันสังคมและจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน จะมีเงินทดแทนกรณีว่างงาน คือ สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง ลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา ซึ่งไปยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคม และจะได้รับเงินโอนทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิของผู้ประกันตนในอัตราที่กำหนด และอย่าลืมขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่เว็บไซต์สำนักงานจัดหางานภายใน 30 วันนับจากวันที่ลาออกหรือถูกเลิกจ้าง


บทความที่เกี่ยวข้อง
Divorce and Child Custody
Divorce is a complex legal process, and when it involves child custody matters, the intricacies become even more profound.
13 Feb 2024
Set up a company in Thailand
To set up a company limited in Thailand is not as hard as you might think.
13 Feb 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy